การดูแลรักษา

การดูแลรักษาและการใช้งานเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลเบื้องต้น



เครื่องชั่งน้ำหนักอายุการใช้งานลดลงเนื่องจากปัยจัยดังต่อไปนี้

1.เสื่อมสภาพจากการใช้งานปกติทั่วไปเป็นเวลานานหลายๆปี
2.มีการใช้งานไม่ถูกลักษณะงาน เช่นสถานที่มีความชื้นสูง ควรใช้เครื่องที่ป้องกันความชื้น
3.เกิดจากระบบไฟฟ้า เกินกำลังหรือ Over Load ไฟกระชากทำให้อุปกรณ์ ภายในเสียหายได้
4.มีการเคลื่อนย้ายเครื่องชั่งน้ำหนักบ่อยครั้งและไม่ระมัดระวังทำให้ Load Cell เกิดความเสียหายได้
5.เกิดจากการเปิดเครื่องหรือซ้อมเครื่องจากช่างที่ไม่ชำนาญการ
6.หากมีสารเคมีหกใส่ตัวเครื่อง ให้ทำการดึงปลั๊กออกทันทีและส่งซ้อมโดยช่างผู้ชำนาญการ
7.หากมีเศษวัสดุตกใส่วงจรเครื่องช่างให้รีบดึกปลั๊กออกใช้ลมเป่าออกให้หมดแล้วจึงเริ่มใช้งานใหม่

การใช้งานเครื่องชั่งน้ำหนักให้ถูกวิธี

1.สถานที่หรือโต๊ะที่ไว้ตั้งเครื่องชั่งน้ำหนัก จะต้องแข็งแรง มั่นคง ไม่โยกแยกง่าย
2.เครื่องชั่งจะต้องวางในระนาบให้มากที่สุด เพื่อให้จานหรือฐานชั่งอยู่ในระดับสมดุล
3.ขาของเครื่องชั่งน้ำหนักจะต้องตั้งให้สมดุลไม่โยกไปมา
4.ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องชั่งน้ำหนักโดยการหิ้วที่จานหรือถาดชั่งน้ำหนัก
5.ควรมีการเปิดเครื่องวอมประมาณ 30 นาที เพื่อให้เครื่องเตรียมพร้อมเพื่อใช้งาน
6.การชั่งน้ำหนัก ควรวางวัตถุไว้ตรงกลางถาดชั่งที่สุด เพื่อให้ได้น้ำหนักที่แม่นยำที่สุด
7.หลังจากการชั่งน้ำหนักทุกครั้งควรนำวัตถุสิ่งของออกจากถาดชั่งทันทีเพื่อป้องกัน Load Cell ล้า
8.ควรชั่งน้ำหนักวัตถุในห้องที่มีอุณหภูมิคงที่ที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิ 1 องศา มีผลต่อการอ่านค่าผิดไป 1-2 ส่วนในล้านส่วน และไม่ควรชั่งวัตถุที่ร้อนหรือเย็นเกินไปหากมีความจำเป็นต้องใช้ควรมีวัตถุรองรอบไม่ให้อุณหภูมิแผ่ มายัง Load Cell
9.ระดับความชื่นสัมพัทธ์ 45-60% เหมาะสมที่สุดในการใช้เครื่องชั่ง
10.ไม่ควรมีกระแสลมจากพัดลมแอร์ หรือ กระแสลมจากพัดลม ซึ่งจะรบกวนการชั่งน้ำหนักได้(เครื่องชั่งระเอียด)
11.น้ำหนักที่เหมาะสมในการชั่ง ควรชั่ง 1ใน 3 ถึง 2ใน 3ของพิกัดสูงสุดของเครื่อง เช่น เครื่องพิกัด 200 กิโลกลัม วัตถุงควรหนัก 66.6 ถึง 133.33 กิโลกรัม
12.สำคัญที่สุดไม่ควรชั่งน้ำหนักเกินพิกัดเครื่องชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ เพราะจะทำให้ Load Cell เสียหายได้
13.ไม่ควรวางวัตถุสิ่งของไว้บนถาดเครื่องชั่งในขณะที่ไม่ได้ใช้เครื่อง เพื่อป้องกัน Load Cell ล้า